ยินดีต้อนรับสู่ Naam's blog ค่ะ

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 26 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 13.10 – 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.10 น. เวลาเลิก 16.40 น.

ก่อนเรียนอาจารย์ให้วาดภาพอะไรก็ได้คนละ 1 ภาพ แล้วนำภาพของแต่ละคนออกมาเล่าเป็นเรื่องราวต่อๆกัน


การประเมิน

     1.ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
    
2.เน้นความก้าวหน้าของเด็ก
          - บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้
          - ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้เกิดพัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้น
     3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
     4.ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง
     5.ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
     6.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล




ตัวอย่างกิจกรรม
     -เขียนตามคำบอกของเด็ก
     -ช่วยเด็กเขียนบันทึก
     -อ่านคำคล้องจ้อง
     -ร้องเพลง
     -อ่านนิทานร่วมกัน








วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤษ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 19 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10-16.40
เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิกเรียน 16.40




แนวทางการจัดประสบการณ์

1. การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา(Skill Approch)
- ให้เด็กได้รู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
- การประสมคำ
- ความหมายของคำ
- นำคำมาประกอบเป็นประโยค
- การแจกรูปสะกดคำ การเขียน
การแจกรูปสะสมคำ ไม่สอดคล้องกับะรรมชาติ
Kenneth Goodman
- เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
- มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
- แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้ และธรรมชาติของเด็ก
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
- ช่างสงสัย ช่างซักถาม
- มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
- ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- เลียนแบบคนรอบข้าง
2. การสอบภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language)
ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
Dewey/ Piaget/ Vygotsky/ Haliday
- เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และลงมือกระทำ
- เด็กเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆแล้วสร้างความรู้สึกขึ้นมาด้วยตนเอง
- อิทธฺพลของสังคมและบุคลอื่นๆมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
การสอนภาษาธรรมชาติ
- สอนแบบบูรณาการ/ องค์รวม
- สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
- สอนสิ่งใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
- สอนแทรกการฝึกการฟัง พูด อ่าน เขียน ไป พร้อมกับการทำกิจกรรม
- ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
- ไม่บังคับให้เด็กเขียน
หลักกการของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ(นฤมน เนียมหอม 2540)
 1. การจัดสภาพแวดล้อม
- ตัวหนังสือที่ปรากฎในห้องเรียน จะต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
- หนังสือที่ใช้ จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
- เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
2. การสื่อสารที่มีความหมาย
- เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
- เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ้งหมาย
- เด็กได้ใข้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
3. การเป็นแบบอย่าง
- ครูอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ้งหมายในการใช้ในเด็กเห็น
- ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
4. การตั้งความคาดหวัง
- ครูเชื่อมั้นว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและเขียน
- เด็กสามารถอ่าน เขียนได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
5. การคาดคะเน
- เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา
- เด็กได้คาดเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน
- ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผุ้ใหญ่
6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
- ตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
- ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
- ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
7. การยอมรับนับถือ
- เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
- เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
- ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรม อย่างเดียวกัน
- ไม่ทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน
8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั้น
- ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะใช้ภาษา
- ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
- ไม่ตราหน้าเด็กที่ไม่มีความสามารถ
- เด็กมีความเชื่อมั้นว่าตนมีความสามารถ
ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้
ผู้อำนวยความสะดวก
ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ ไปพร้อมๆกับเด็ก
บทบาทครู
- ครูคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
- ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนในการอ่าน การเขียน
- ครุควรยอมรับกับความไม่ถูกต้องครบถ้วนของเด็ก
- ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์





วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 12 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10 – 16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.10 น. เวลาเลิก 16.40 น.

องค์ประกอบของภาษา
         1.        Phonology
ระบบเสียงของภาษา
-  เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
-  หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
         2.    Semantic
-ความหมายของภาษาและคำศัพท์
-  คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลากหลายความหมาย
- ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
         3.    Syntax         
-ระบบไวยากรณ์
-การเรียงรูปประโยค
         4.    Pragmatic
-ระบบการนำไปใช้
-  ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
แนวความคิดนักการศึกษา
          1.     แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม
       ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
                -   สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
                -   ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ John B. Watson
               -   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
               -   การวางเงื่อนไขพฤติกรรมเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถทีจะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรม
นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
              -   ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
              -   การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
              -   เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
              -   เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อปฏิสัมพันธ์
              -   เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
         2.    แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
       ทฤษฎีของ Piaget
             -   เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
             -   ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีของ Vygotsky
            -   เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
            -   สังคม บุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
            -   เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
            -   ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
       3.    แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความร่างกาย
ทฤษฎีของ Arnold Gesell
            -   เน้นความพร้อมด้านร่างกายในการใช้ภาษา
            -   ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
            -   เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
            -   เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
      4.    แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
ทฤษฎี Noam Chomsky
             -   ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
             -   การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
             -   มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Device)
ทฤษฎีของ O. Hobart Mowrer
             -   คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ
     ความสามารถในการฟังและเกิดความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่น  และเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา
       แนวทางในการจัดประสบการณ์
             -   เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
             -   นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ 3 กลุ่ม
            1.     มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
                   -   นำองค์ประกอบย่อยของภาษา มาใช้ในการสื่อความหมาย
                   -   เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลี หรือประโยค
            2.    มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
                   -   เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
                   -   การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
                   -   ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
           3.    มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
                  -   เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
                  -   การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
                  -   เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา




บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 5 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 13.10 – 16.40 น.

เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.10 น. เวลาเลิก 16.40 น.

นำเสนองาน




               1. การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย
          ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในกลุ่มชนสามารถพัฒนามนุษย์ได้
               
               2. ทฤษฎีทางภาษาของเด็กปฐมวัย
          เด็กมีพัฒนาการทางภาษาได้อย่างรวดเร็ว เด็กมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้

               3.พัฒนาการทางสติปัญญา  เด็กแรกเกิด - 2ปี
          การเรียนรู้ 0-2 ขวบ เด็กจะจดจำใบหน้าได้ อายุ 4 สัปดาห์ เด็กจะเห็นเราและเรียนแบบการกระทำของเรา อายุ 8 สัปดาห์ เด็กจะยิ้มสามารถมองจ้องวัตถุและจดจำ อายุ 3 เดือน จะมองเห็นของที่บนศรีษะ อายุ 4 เดือน เด็กจะมีความตื่นเต้น เด็กจะแสดงอารมณ์กลัว เด็กจะเริ่มสนใจกระจก เด็กจะแสดงความรับรู้ ทารกจะตบมือได้ 
          พัฒนาการ แรกเกิด-2 ขวบ เด็กจะรับรู้เสียง รส กลิ่น การสัมผัส สามรถส่งเสริมเด็กได้ด้วย การอุ้ม อ้อมกอด เด็กต้องได้รับนมจากแม่เป็นการสร้างสัมพันธ์กับแม่
          เดือนที่2 เริ่มคุยเริ่มส่งเสียงจากพ่อแม่ ควรส่งเสริมด้วยการใช้ของเล่นสีสด จะพัฒนาการใช้สายตาในการมอง เดือนที่3 เด็กจะส่งเสียงโต้ตอบ พ่อแม่ต้องเริ่มสังเกตพฤติกรรมเป็นพิเศษต้องมีการสบตา ถ้าไม่มีปัญหาเหล่านี้ก็แปลว่าผิดปกติ

               4.พัฒนาการด้านสติปัญญา 2-4 ปี
          เด็กจะได้รับพัฒนาการไปตามขั้นตอน เราไม่ควรเร่งรัดและปิดกั้น

               5.ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
          วิธีการเรียนรู้เด็กปฐมวัย เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา
          - การเล่นและการเข้าสังคม
          - การช่วยเหลือตนเอง



วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3




วันที่ 28 มิถุนายน 2556

ไม่ได้เรียน
มีกิจกรรมรับน้อง







บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่นถิน
วันที่ 21 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 13.10 – 16.40 น.

เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.10 น. เวลาเลิก 16.40 น.

การจัดประสบการณ์ภาษา
  •          ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย
  •    ภาษา เป็นเครื่องมือในการแสดงความรู้สึก


         ความสำคัญของภาษา
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
                                   ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
             ภาษาเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
             ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

ทักษะภาษาประกอบด้วย
การฟัง
            การพูด
            การอ่าน
            การเขียน


          ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
      การที่เด็กจะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางด้านภาษาและสติปัญญา กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
1.   การดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการที่เด็กได้รู้ และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง
2.  การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ (Accommodation) เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่กับการดูดซึม โดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดสมดุล (Equilibrium) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง

Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา
1.      ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensor motor Stage) แรกเกิด – 2 ปี เด็กจะเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา
2.     ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational Stage)
2.1         อายุ 2-4 ปี (Preconception Stage) เริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร เล่นบทบาทสมมติ การเล่าเรื่อง แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า บอกชื่อสิ่งต่างๆรอบตัว ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน
2.2        อายุ 4-7 ปี (Intuitive Stage) ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุ สามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งของ
3.    ขั้นคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7-11 ปี
4.   ขั้นคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11-15 ปี

พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจ เป็นลำดับขั้น ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้องควรมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

จิตวิทยาการเรียนรู้
1. ความพร้อม >> วัย ความสามารถ ประสบการณ์เดิมของเด็ก
2.   ความแตกต่างระหว่างบุคคล >> อิทธิพลทางสิ่งแวดล้อม อิทธิพลทางพันธุกรรม
3.    การจำ >> การเห็นบ่อย การทบทวนเป็นระยะ การจัดหมวดหมู่ การใช้คำสัมผัส
4.   การเสริมแรง >> การเสริมแรงทางบวก การเสริมแรงทางลบ